‣
AI-assisted vs. AI-written text
.
นักวิจัยใช้ AI ช่วยเขียนงานได้ไหม (assist) เรื่องนี้น่าจะชัดเจนแล้วว่าใช้ได้ เพราะทั้งสำนักพิมพ์ ทั้งนักวิชาการ และสมาคมหลายแห่งก็ออกมาแถลงแนวทางการใช้ AI ช่วยทำงาน เขียนงาน และกิจกรรมการวิจัยอื่นๆ ได้ แต่มันไม่ใช่การอนุญาตให้นักวิจัยส่งงานที่ AI เขียน (write) หรือให้ AI เป็นผู้เขียนร่วมได้
.
รายงาน Generative AI in Academic Research: Perspectives and Cultural Norms จาก Cornell แนะนำว่าเราควรเริ่มจากการเขียนเอง เริ่มจาก original text ผมเดาว่าครอบคลุมทั้ง (1) งานที่มาจากภาษาผู้ทำวิจัยเอง (2) งานที่มาจากงานวิจัยจริงๆ อ้างอิงได้ แล้วถึงให้ AI ปรับแต่งให้ชัดเจนขึ้นมากกว่า
.
เรื่องการอ้างอิงงาน แทบจะหมดคำถามแล้วว่า GenAI ประเภท LLM ส่วนใหญ่ จะแต่งชื่องานวิจัยผสมกับงานวิจัยจริง ซึ่งมันทำให้เสียเวลาการหาต้นทาง จะง่ายกว่ามากถ้าใช้ AI เฉพาะทางสำหรับการค้นหางานวิจัย ที่สามารถเชื่อมไปถึงฐานข้อมูลวิจัยจริงๆ เช่น Litmaps, Perplexity, Research Rabbit เป็นต้น (เครื่องมือเหล่านี้จะมีฐานงานวิจัยไม่เท่ากัน ใช้ควบคู่กับ semantic scholar / google scholar ดีที่สุด)
.
📺 ดูคลิปการใช้ Litmaps ได้ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=oHAeJ3IEdvk
อ้างอิง
Generative AI in Academic Research: Perspectives and Cultural Norms
https://research-and-innovation.cornell.edu/generative-ai-in-academic-research/